ผักเป็ด...หญ้าหรือผัก หรือยากันแน่
ผักเป็ด...หญ้าหรือผัก หรือยากันแน่
สมัยเนิ่นนานมามากแล้วเดิมทีเมืองไทยเราไม่มีต้น( ผักเป็ด )...หรอกนะ. ก็ผักเป็ดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ประเทศ อเจนตินาโน่น...ไม่น่าเชื่อเลย..ต่อมามันมาระบาดเป็นหญ้า. ..บ้านเรา..เหมือนผักตบชวานั่นแหละ แล้วเราก็เห็นกันชินตากลายเป็นหญ้าไร้ค่า. ทั้งที่ผักเป็ด...หมอยาเขาใช้เป็นยาดีดับพิษโลหิตเชียวนะ. และใช้ฟอกโลหิต รวมทั้งเป็นยาระบายอ่อนๆ..
ต่อมา..ในปัจุบันผักเป็ด..ผู้รุกรานได้ถูกปราบเกือบสิ้นสูญ..เพราะยาฆ่าหญ้า...
เราจึงไปเสาะหา...เอามันมาปลูก .บ้าป่าว..จริงๆ ..แต่ที่ทำอย่างนี้เพราะ. มันเป็นอาหารชั้นยอด..ที่หากใครเคยกินต้องติดใจแน่
ผักเป็ด..ชุบแป้งทอด...มันอร่อยมากนะคุณ. มันไม่ใช่ผัก แต่ชื่อว่าผักเป็ด เพราะว่ามันกินได้ อร่อยมากด้วย...คนทั่วไปมองมันเป็นแค่หญ้ารกๆเสียด้วยซ้ำ
แต่เรายกให้มันเป็นผัก และเรามีเคล็ดลับทอดให้มันกรอบด้วย. คือการผสมแป้งใช้แป้งข้าวจ้าวผสมแป้งมันเล็กน้อย. น้ำที่ใช้ผสมต้องเย็นจัด. คลุกผักเป็ดกับผงแป้งก่อน. แล้วค่อยจุ่มลงถ้วยแป้งที่ผสมไว้. จากนั้นตั้งน้ำมันใช้ไฟกลางนะ...ทดสอบหยอดผักลงกะทะสักใบก่อน. ถ้าลอยเป็นใช้ได้. แลัวก็ลงมือทอดเลย. ทอดให้เหลืองเล็กน้อย. รีบเอาขึ้นสะเด็ดน้ำมัน. ผักเป็ดเรายังรัอนอยู่มันจะเหลืองกรอบต่ออีก...ทำแบบนี้กรอบทั้งวันเลยจ้า...แล้วกินกับน้ำพริกกะปิ...สุดยอด. เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม..งานนี้ได้ทั้งอาหารและยาไปในตัว
เรียกได้ว่า " กินอาหารให้เป็นยา ".... อย่างนี้นี่แหละ
สมัยเนิ่นนานมามากแล้วเดิมทีเมืองไทยเราไม่มีต้น( ผักเป็ด )...หรอกนะ. ก็ผักเป็ดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ประเทศ อเจนตินาโน่น...ไม่น่าเชื่อเลย..ต่อมามันมาระบาดเป็นหญ้า. ..บ้านเรา..เหมือนผักตบชวานั่นแหละ แล้วเราก็เห็นกันชินตากลายเป็นหญ้าไร้ค่า. ทั้งที่ผักเป็ด...หมอยาเขาใช้เป็นยาดีดับพิษโลหิตเชียวนะ. และใช้ฟอกโลหิต รวมทั้งเป็นยาระบายอ่อนๆ..
ต่อมา..ในปัจุบันผักเป็ด..ผู้รุกรานได้ถูกปราบเกือบสิ้นสูญ..เพราะยาฆ่าหญ้า...
เราจึงไปเสาะหา...เอามันมาปลูก .บ้าป่าว..จริงๆ ..แต่ที่ทำอย่างนี้เพราะ. มันเป็นอาหารชั้นยอด..ที่หากใครเคยกินต้องติดใจแน่
ผักเป็ด..ชุบแป้งทอด...มันอร่อยมากนะคุณ. มันไม่ใช่ผัก แต่ชื่อว่าผักเป็ด เพราะว่ามันกินได้ อร่อยมากด้วย...คนทั่วไปมองมันเป็นแค่หญ้ารกๆเสียด้วยซ้ำ
แต่เรายกให้มันเป็นผัก และเรามีเคล็ดลับทอดให้มันกรอบด้วย. คือการผสมแป้งใช้แป้งข้าวจ้าวผสมแป้งมันเล็กน้อย. น้ำที่ใช้ผสมต้องเย็นจัด. คลุกผักเป็ดกับผงแป้งก่อน. แล้วค่อยจุ่มลงถ้วยแป้งที่ผสมไว้. จากนั้นตั้งน้ำมันใช้ไฟกลางนะ...ทดสอบหยอดผักลงกะทะสักใบก่อน. ถ้าลอยเป็นใช้ได้. แลัวก็ลงมือทอดเลย. ทอดให้เหลืองเล็กน้อย. รีบเอาขึ้นสะเด็ดน้ำมัน. ผักเป็ดเรายังรัอนอยู่มันจะเหลืองกรอบต่ออีก...ทำแบบนี้กรอบทั้งวันเลยจ้า...แล้วกินกับน้ำพริกกะปิ...สุดยอด. เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม..งานนี้ได้ทั้งอาหารและยาไปในตัว
เรียกได้ว่า " กินอาหารให้เป็นยา ".... อย่างนี้นี่แหละ
ขั้นตอนการทอดผักเป็ด
ข้อมูลผักเป็ด
ผักเป็ด ชื่อสามัญ Sessile joyweed
ผักเป็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Alternanthera sessilis (L.) R.Br. ex DC.
ส่วนอีกตำราระบุว่าเป็นชนิด Alternanthera paronychioides A.St.-Hil.
จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)
ผักเป็ด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักเป็ดแดง ผักเป็ดขาว (ภาคกลาง), ผักเปี๋ยวแดง (ภาคเหนือ), ผักเป็ด ผักเป็ดไทย (ไทย), ผักหอม บะอุ่ม บ่ะดิเยี่ยน (ลั้วะ) เป็นต้น
หมายเหตุ : จากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทยระบุว่า ผักเป็ดขาว คือ ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alternanthera sessilis (L.) R.Br. ex DC. (ภาษาจีนเรียกว่า เหลียนจื่อเฉ่า เจี๋ยเจี๋ยฮวา) ส่วนผักเป็ดแดงคือชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alternanthera bettzickiana (Regel) G.Nicholson (ชนิดนี้ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า หงเฉ่า, หยินซิวเจี้ยน) และมีสรรพคุณเป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ทำให้เลือดเย็น ช่วยห้ามเลือด และแก้เส้นเลือดอุดตัน
ลักษณะของผักเป็ด
- ต้นผักเป็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้มากในภาคกลาง โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุราว 1 ปี ที่มีลำต้นตั้งตรงหรืออาจเลื้อยก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่อยู่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-45 เซนติเมตร ตามข้อของลำต้นจะมีราก ระหว่างข้อต่อมีร่องและมีขนปกคลุมเล็กน้อย ลำต้นมีทั้งสีแดงและสีขาวอมเขียว โดยต้นผักเป็ดนี้จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ในทุกสภาพของดิน ไม่ว่าจะเป็นดินแห้งหรือดินแฉะ โดยมักจะพบได้ตามที่รกร้างทั่วไปหรือตามที่ชื้นข้างทาง ที่ระดับความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง 1,000 เมตร เพราะจัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง
- ใบผักเป็ด ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม โดยจะออกตามข้อของต้น ลักษณะของใบและขนาดของใบจะมีรูปร่างไม่แน่นอน ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับสภาพดินด้วย โดยจะมีทั้งใบแคบ ยาว เรียวแหลม ปลายแหลม ปลายมน หรือเป็นรูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.2-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1-8 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นหยักเล็กน้อย หากดินที่ปลูกมีความแห้งแล้งใบจะมีขนาดเล็ก หากดินแฉะหน่อยขนาดของใบจะใหญ่สมบูรณ์ โดยแผ่นใบจะเป็นสีเขียว ไม่มีก้านใบหรือมีแต่จะขนาดสั้นมาก ยาวประมาณ 1-5 มิลลิเมตร
- ดอกผักเป็ด ออกดอกเป็นช่อกลม ๆ ตามง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 1-4 ดอก ไม่มีก้านดอก แต่เมื่อดอกร่วงโรยไปแล้วจะดูเหมือนกับว่ามีก้านดอก โดยดอกจะเป็นสีม่วงแดงหรือสีขาว ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 3 ก้านและเกสรเพศเมีย 1 ก้าน ในแต่ละกลีบดอกจะมีใบเป็นเยื่อบาง ๆ สีขาว 2 อัน
- ผลผักเป็ด พบอยู่ในดอก ลักษณะของผลเป็นรูปไตหรือรูปหัวใจกลับ มีขนาดเล็กมาก โดยจะมีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร โดยผลจะร่วงโรยไปพร้อมกับกลีบดอก
สรรพคุณทางยา...ของผักเป็ด
- ทั้งต้นมีรสเอียน ชุ่ม ขมเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและลำไส้เล็ก ใช้เป็นยาฟอกเลือด บำรุงเลือด ขับพิษเลือด ดับพิษเลือด ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดกำเดา (ต้น) ส่วนรากก็เป็นยาฟอกเลือดเช่นกัน (ราก)
- ต้นใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ทำให้เลือดเย็น ห้ามเลือด และแก้เส้นเลือดอุดตัน (ต้นผักเป็ดแดง)
- ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน (ต้นและใบ)
- ช่วยทำให้ไขมันไม่อุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากผักชนิดนี้จะช่วยขับเมือกที่อยู่ในลำไส้ออกมาทางอุจจาระ ซึ่งเมือกก็คือไขมันที่อยู่ในร่างกาย (ถ้าขับออกมาไม่หมดก็จะถูกสะสมอยู่ในเลือด) (ต้นและใบ)
- ในประเทศอินโดนีเซียและศรีลังกาจะใช้ต้นเป็นยาลดไข้ แก้ไข้ (ต้น)
- ช่วยแก้อาการร้อนใน (ต้น)
- ช่วยแก้อาการไอหรืออาเจียนเป็นเลือด แก้อาการเจ็บคอ (ต้น)
- ช่วยแก้ต่อมเต้านมอักเสบ (ต้น)
- ในประเทศอินโดนีเซียจะใช้ต้นเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด (ต้น)
- ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ (ต้น)
- ต้นและรากใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ มักนำมาทำยาดองเปรี้ยวเค็ม รับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ (ต้น, ราก)
- ถ่ายเป็นเลือด ให้ใช้ต้นสดผสมกับจุ่ยหงู่ชิก เหลาะตี้จินเซียน อย่างละ 60 กรัม นำมาไปตุ๋นรวมกันกับเนื้อหมูรับประทาน (ต้น)
- ต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ (ต้น)
- รากใช้เป็นยาฟอกโลหิตประจำเดือน บำรุงโลหิตของสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ประจำเดือนขัดข้องของสตรี (ราก, ทั้งต้นและราก)
- ใช้ต้นเป็นยาแก้ประจำเดือนพิการ เป็นลิ่ม เป็นก้อนดำเหม็น (ต้นผักเป็ดแดง)
- สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งคลอดลูกนั้น จะใช้ผักเป็ดเป็นส่วนผสมในสมุนไพรที่ใช้ในการอยู่ไฟ เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้น (ต้นและใบ)
- ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ต้น)
- ในประเทศอินเดียจะใช้ต้นเป็นยากระตุ้นการไหลของน้ำดี (ต้น)
- ต้นและใบใช้เป็นยาแก้พิษงู แมลงกัดต่อย ด้วยการใช้ต้นสด 100 กรัม นำมาตำให้พอแหลกผสมกับเหล้าโรงเล็กน้อย คั้นเอาน้ำรับประทาน ส่วนกากที่เหลือนำมาพอกที่บาดแผล (ต้น, ใบ)
- ต้นใช้เป็นยาพอกรักษาแผล (ต้น)
- ต้นสดใช้ภายนอกนำมาตำพอกหรือต้มเอาน้ำใช้ชะล้างเป็นยาแก้พิษฝี มีหนอง แก้ผดผื่นคัน (ต้น)
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ช้ำใน (ต้นและใบ)
- ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และเกาะมาดากัสการ์จะใช้ต้นเป็นยาขับน้ำนมของสตรี (ต้น)
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยบั้นเอวและท้องน้อย (ต้นผักเป็ดแดง)
หมายเหตุ : การใช้ตาม [2] ใช้ภายใน ถ้าเป็นต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หากเป็นต้นสดให้ใช้ครั้งละ 70-100 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำรับประทาน
จากหนังสือประมวลสรรพคุณยาไทยไม่ได้แยกว่าเป็นผักเป็ดชนิดขาวหรือแดงที่นำมาใช้ทำยา แต่เข้าใจว่าคงใช้ได้ทั้ง 2 สี และในตำราบางเล่มจะเจาะจงให้ใช้เฉพาะผักเป็ดแดงเท่านั้น เช่น ตำราเวชเภสัชกรรมแผนโบราณและตำราสรรพคุณสมุนไพร สาขาเภสัชกรรมแพทย์แผนโบราณ ก็บรรยายเฉพาะสรรพคุณของผักเป็ดแดง แต่ตำราสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนจะระบุสรรพคุณของผักเป็ดขาวเป็นหลัก
ผักเป็ดในบ้านเราจะมีอยู่สองแบบ คือ ผักเป็ดใบกลมและผักเป็ดใบแหลม โดยชนิดใบแหลมมักจะในพบบริเวณที่อยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ได้รับแสงน้อย มีสรรพคุณทางยาที่โดดเด่นคือเป็นยาบำรุงโลหิต กระจายโลหิตไม่ให้จับกันเป็นก้อน ๆ แก้ช้ำใน ฟกช้ำ ส่วนชนิดใบกลม (ใบไข่กลับ) จะอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำ ชาวบ้านนิยมนำมารับประทานมากกว่าใบแหลม เพราะใบกลมจะอวบน้ำ เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย มีรสจืด ไม่ขมเหมือนชนิดใบแหลม และมีสรรพคุณทางยาที่โดดเด่นคือเป็นยาระบาย
แพทย์แผนโบราณมักจะนิยมเก็บยอดผักเป็ดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น และจะเลือกเก็บเฉพาะต้นที่ดอกยังไม่แก่ เพราะถ้าดอกแก่แล้วสารอาหารในต้นและในใบจะมีน้อย เนื่องจากดอกจะดึงสารอาหารมาใช้ในการสร้างเมล็ด
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเป็ด
- ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ต้านพิษต่อตับ ลดไข้ มีฤทธิ์คล้ายฮีสตามีน
ประโยชน์ของผักเป็ด
- ในประเทศศรีลังกา มาเลเซีย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และเกาะมาดากัสการ์ ใช้รับประทานเป็นผักชนิดหนึ่ง ส่วนในประเทศไทยมีการใช้มาแต่อดีตแล้ว โดยจะนำยอดอ่อนมาใช้เป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกปลาร้า ฯลฯ หรืออาจนำไปชุบแป้งทอดให้สุกก่อนนำมาจิ้มน้ำพริกกิน ตำรับปรุงผักเป็ดที่นิยม ก็คือ ชุบแป้งทอดให้เป็นแผ่น (อาจจะมีกุ้งฝอยผสมลงไปด้วย) ต้มยำแห้งผักเป็ดอบหม้อดิน ตำมะขามอ่อนนอนรังเป็ด เป็นต้น โดยจะนิยมเก็บผักเป็ดตามที่ลุ่มแฉะหรือน้ำขัง เพราะจะได้ผักเป็ดที่มียอดโตอวบ อ่อนนุ่ม และค่อนข้างยาว ส่วนชาวลั้วะจะใช้ทั้งต้นนำมานึ่งรับประทานกับน้ำพริก
- ในประเทศศรีลังกาจะใช้ต้นเป็นอาหารบำรุงของสตรีแม่ลูกอ่อน
- ผักเป็ดสามารถนำมาใช้เป็นอาหารของสัตว์ได้ดี เช่น หมู เป็ด ไก่ กระต่าย ฯลฯ หรือนำมาผสมเป็นอาหารปลา เนื่องจากผักชนิดนี้มีคุณค่าทางอาหารสูงและย่อยได้ง่าย
- ผักเป็ดสามาถนำมาใช้เป็นพืชน้ำประดับตู้ปลาได้ เพราะสามารถออกรากได้ในน้ำ และยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี เพราะมีสีสวย ปลูกได้ง่าย มีความทนทานและโตเร็ว
References
- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ผักเป็ด”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 503-504.
- หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ผักเป็ดขาว”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 352.
- มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 248 คอลัมน์: พืช-ผัก-ผลไม้. “ผักเป็ด : ผักสามัญที่ไม่ไร้ความสำคัญ”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [27 เม.ย. 2014].
- โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Sessile joyweed”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [27 เม.ย. 2014].
- ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ผักเป็ด”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้น้ำบึงบอระเพ็ด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [27 เม.ย. 2014].
- รายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ช่องไทยพีบีเอส วันที่ 15 ก.ค. 2012. “ผักเป็ด”.