สาหร่ายทะเล

สาหร่ายทะเลจัดเป็นพืชชั้นต่ำ ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง สาหร่ายไม่มีระบบท่อลำเลียงอาหารจากรากสู่ลำต้นเหมือนกับพืชชั้นสูง ต้องใช้วิธีดูดซับแร่ธาตุจากน้ำทะเลสู่เซลล์โดยตรง และสามารถสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์แสง มีการค้นพบสาหร่ายกว่า 20,000 ชนิดทั่วโลก ซึ่งแบ่งตามสีออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สีเขียว สีแดง และสีน้ำตาล มนุษย์ใช้สาหร่ายเป็นอาหารบริโภคโดยตรง หรือนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สกัดเป็นวุ้นใช้ในอาหาร เครื่องดื่ม ใช้เป็นส่วนประกอบในเวชภัณฑ์ยา เครื่องสำอาง
สาหร่ายชนิดที่นิยมนำมาทำอาหาร เช่น พอไฟรา (Porphyra) เป็นสาหร่ายสีแดงที่มีชื่อไทยว่า สายใบ ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า โนริ นำมาทำเป็นแผ่นบางใช้ห่อซูซิ และเป็นชนิดเดียวกับสาหร่ายแห้งแผ่นกลมที่ใส่ในแกงจืด ซึ่งชาวจีนเรียกว่า จีฉ่าย สาหร่ายลามินาเรีย (Laminaria) หรือคอมบุ เป็นสาหร่ายสีน้ำตาล ในญี่ปุ่นนิยมนำมาต้มเป็นน้ำสต็อกสำหรับทำซุปหรือใช้ปรุงแต่งรสอาหาร สาหร่ายอุนดาเรีย (Undaria) หรือวากาเมะ เป็นสาหร่ายสีน้ำตาลที่นิยมนำไปใส่ในซุป คนญี่ปุ่นกินซุปวากาเมะร่วมกับอาหารอื่นได้ทุกมื้อ ส่วนสาหร่ายที่นำมาแปรรูป เช่น สาหร่ายเคลป์ สาหร่ายสีน้ำตาลที่สกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยอ้างสรรพคุณด้านการควบคุมน้ำหนัก กระชับสัดส่วน สาหร่ายสีแดงชนิด Gelidiella acerosa นำมาสกัดเป็นวุ้น สาหร่ายสีแดงสกุล Asparagopsis มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ จึงสกัดมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและอาหารเสริม
สาหร่ายทะเลอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 6 บี 12 วิตามินซี และแร่ธาตุโดยเฉพาะไอโอดีน มีเส้นใยอาหารสูง ขณะที่มีไขมัน แป้ง และน้ำตาลน้อย สาหร่ายพอไฟรามีโปรตีนสูงที่สุดถึงร้อยละ 30-50 ของน้ำหนักแห้ง และมีวิตามินซีสูงกว่าในส้ม 1.5 เท่า สาหร่ายเคลป์มีเส้นใยอาหารและไอโอดีนสูงที่สุด ไอโอดีนจำเป็นต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญในร่างกาย ทองแดงและเหล็กมีประโยชน์ต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง แมกนีเซียมที่ช่วยให้กล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก โพแทสเซียมช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์และความสมดุลของน้ำในร่างกาย สังกะสีช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้เอนไซม์ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยฟอกพิษโลหะหนักอย่างแคดเมียมและตะกั่วได้ด้วย

ปัจจุบัน มีสาหร่ายทะเลจำหแหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีต่างๆกันส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายพบว่าไม่สูงมากนัก คาร์โบไฮเดรตที่มี อยู่เป็นพวกที่ย่อยยากในตัวคน โปรตีนก็มีน้อยแต่สิ่งที่ได้จากสาหร่าย คือ แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด นอกจากเป็นอาหารคนแล้วยังใช้เป็นอาหาร สัตว์ เป็นปุ๋ยและเป็นยา สาหร่ายทะเลนั้นมีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการอยู่ถึง 18 ชนิดเลยทีเดียว แต่ที่มีมากและสำคัญต่อร่างกายเรานั้น อาทิ
ใยอาหาร จะช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระทำให้ท้องไม่ผูก และเร่งการขับถ่ายสารพิษต่างๆให้ออกมาได้อย่างดี
ธาตุเหล็ก เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงทำให้ผิวพรรณเราเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลแถมยังทำให้ผมเงางามดกดำอีกด้วย
ไอโอดีน ปริมาณที่ร่างกายต้องการจากไอโอดีนต่อวันนั้นจะประมาณ0.1-0.3มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเพียงเราทานสาหร่ายขนาด 2 เซนติเมตร เท่านี้ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้งแถมยังช่วยป้องกันโคคคอพอกอีกด้วย
สังกะสี เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิดในร่างกาย ที่จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันทองแดง จะมีหน้าที่ดูดซึมธาตูเหล็กและสร้งฮีโมโกบินที่ไขกระดูก หากว่าร่างกายขาดธาตุนี้จำหน่ายในรูปแผ่นปรุงรสอบแห้ง 

ถึงแม้ว่าจะให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ในกระบวนการผลิตที่ปรุงรสด้วยการอบซอส ทำให้มีปริมาณโซเดียมสูงขึ้น ไม่เหมาะต่อคนเป็นโรคไตหรือความดันโลหิตสูง การกินสาหร่ายปรุงรสปริมาณมากเกินไป ร่างกายก็จะได้รับไอโอดีนมากเกินความต้องการ มีผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ สาหร่ายทะเลยังมีกรดนิวคลีอิกที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นกรดยูริกได้ เมื่อกินปริมาณมากติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เป็นโรคเกาต์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ผักเป็ด...หญ้าหรือผัก หรือยากันแน่

ผำ...ไข่น้ำ

วิธีการขยายพันธุ์พืช ด้วยการปักชำแบบควบแน่น